ส่งข้อมูลง่าย ๆ ด้วย RF433 Module

                สวัสดีตอนเย็น ๆ นะครับ ตอนนี้เจ้าของบล็อกก็ได้ลองเล่นเจ้าตัว RF433 Module ดูครับ มันทำหน้าที่เป็นตัวส่งข้อมูลจะมีทั้งตัวส่งและตัวรับ ซึ่งจะแบ่งหน้าที่กันคือตัวนึงส่งอย่างเดียว อีกตัวก็รับอย่างเดียว มาดูกันครับว่าจะเป็นอย่างไร










                ตอนนี้เราก็มาดูในส่วนโค๊ดกันเลยนะครับ โดยตัวแรกนี้จะเป็นโค๊ดตัวที่ทำหน้าที่ส่งกันนะครับ โค๊ดก็จะมีประมาณแค่นี้ครับ





                ในอันดับแรกเราจะทำการเรียก library มาก่อนเลยครับ library สามารถโหลดได้ ที่นี่ 
ในการส่งเราก็ต้องมีการกำหนดขาก่อนครับ จะใช้คำสั่ง mSwitch.enableTransmit(10); คือกำหนดขาที่จะส่งไว้ที่ขา Digital pin ที่ 10 เมื่อเรากำหนดแล้วก็มาดูในส่วนการทำงานเลยเน้ออ ประโยคเดียวบันทัดเดียวสั้น ๆ ฮ่า ๆ ๆ ก็คือ mSwitch.send(ข้อมูลที่จะส่ง, บิท); ข้อมูลที่จะส่งสามารถส่งได้เป็นตัวเลข ตัวอักษร ไม่สามารถส่งเป็น String หรือข้อความได้






                ในส่วนนี้เรามาดูการรับค่ากันนะครับ โค๊ดก็จะประมาณนี้ในส่วน setup() นี้เราก็จะประกาศไปแค่ mSwitch.enableReceive(0); คือกำหนดให้มีการรับค่าครับจะเอาไว้ digital pin 2 นะครับ และประกาศอีกตัวนึงคือ Serialn.begin(9600); เอาไว้ข้อมูลผ่าน Monitor

                เราก็มาดูในส่วนการรับค่าจริง ๆ กันซักที ก่อนอื่นก็เช็คก่อนเลยว่าข้อมูลที่รับมามันมีอะไรเข้ามารึป่าวก็ใช้คำสั่ง if(mSwitch.available()) ถ้าเกิดว่ามีค่าส่งเข้ามาก็จะมีการสร้างตัวแปรเพื่อมาเก็บค่านั้น ๆ จากโค๊ดเจ้าของบล็อกได้สร้างเป็นตัวแปรประเภท Interger มาเก็บ แล้วในเงื่อนไขอีกตัวนึงก็คือในกรณีถ้าค่าที่รับมานั้นไม่เท่ากับ 0 ก็จะให้มันแสดงข้อมูลนั้นออกมาทาง Serial Monitor ครับ เท่านี้เราก็ได้ค่าไว้สำหรับทำเงื่อนไขแล้วครับ อยากจะเอาค่านี้ไปเปิด หลอดไฟ ปิดนู้น เปิดนี่ก็ตามสบายเลย

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.arduinoall.com 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 1 เกริ่นพีทาโกรัส

Pointer กับตัวแปร Array นะจ๊ะ.. [Back to basic แต่ไม่ basic]