บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

เที่ยวงาน Bangkok mini Maker fair :)

รูปภาพ
สวัสดีครับ :) วันนี้เจ้าของบล็อกจะพูดถึงงาน maker ในเมืองไทย เนื่องจากวันที่ 26-27 กันยายนนี้มีงาน Bangkok mini maker fair จัดขึ้นซึ่งเจ้าของบล็อกก็จะไม่พลาดที่จะไป แต่เจ้าของบล็อกได้ไปเพียงวันที่ 27 วันเดียวเท่านั้นก็คือวันอาทิตย์นี้ แต่ก็เป็นช่วงที่ไม่ดีนักเพราะว่าระหว่างเดินทางฝนก็ตกซะงั้น พอไปถึงงานบางบูธก็เก็บของกลับบ้านกันเรียบร้อย T_T (กว่าจะเดินทางไปถึงประมาณ 4 โมงเย็นกว่า ๆ) ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก บ่นพอแล้วละ 555 ขอเล่าตามรูปที่เจ้าของบล็อกได้ถ่ายมานะครับ อันดับแรกที่หน้างานขอถ่ายรูปกับยักษ์ก่อนเลย บ่งบอกได้ถึงความเป็นไทยจริง ๆ  :)

Function Pointer กับการ Call back Function (C++ programming)

รูปภาพ
หัวข้อในวันนี้เจ้าของบล็อกจะขอพูดถึงเรื่องของ function pointer นะครับซึ่งในบทความนี้ก็จะอธิบายเกี่ยวกับการทำ call back function มันก็คือการให้ function มันสามารถคุยกันเองได้ โดยการที่เราสร้าง function มาตัวนึง แล้วส่ง function ที่เราสร้างมานี้ ส่งไปให้ function หลัก แล้วมันก็จะใช้งาน function ที่เราสร้างขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรกับ function นั้นเลย เดี๋ยวเราลองมาดูกันเลย

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 6 ADC Pin กับการอ่านค่า Analog

รูปภาพ
ในบทความนี้เจ้าของบล็อกจะพูดถึงกับการอ่านค่า Analog จาก Sensor ZX-HIH4030 จาก INEX ครับ สำหรับ NodeMCU จะมี Pin ที่สามารถอ่านค่า Analog ได้เพียง 1 pin คือ Pin ADC ซึ่งก็สามารถกำหนด Pin โดยกำหนดตัวแปรเท่ากับ A0 ก็ได้เหมือนกับ Arduino หรือจะกำหนดให้เท่ากับ Pin ที่ 17 ก็ได้ ความหมายเดียวกับ A0

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 5 การอ่านค่า sensor ด้วย NodeMCU

รูปภาพ
สวัสดีครับ เมื่อไม่นานมานี้เจ้าของบล็อกได้ทดลองเล่นกับพวกโมดูลเซนเซอร์ต่าง ๆ โดยใช้ NodeMCU ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าของบล็อกใช้ Arduino มาสักพักนึง แต่เมื่อมาเทียบกับ NodeMCU ตัวนี้แล้วรู้สึกว่า เหมาะกับการใช้งานในด้าน IoT ยิ่งนัก อ่านค่าจากเซนเซอร์แล้วส่งค่าขึ้น Cloud ทันที แต่บทความนี้จะพูดถึงการอ่านค่ามาเก็บไว้ตัวแปรกันก่อนนะครับ

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 4 web server กับการควบคุม relay

รูปภาพ
ตอนนี้ก็เป็นบทความที่ 4 แล้วสำหรับเจ้าตัว NodeMCU v.2 นะครับ ในบทความที่ผ่านมาเจ้าของบล็อกได้ทดลองกับ LED อย่างเดียวเลย วันนี้เจ้าของบล็อกเลยอยากลองใช้เล่นกับตัว relay ดูบ้าง :D โดยให้เจ้า NodeMCU ตัวเนี้ย ทำเป็น web server ขึ้นมา แล้วรอรับค่าจากผู้ใช้งานจากการกดคลิกที่หน้าเว็บ ครับ งั้นมาเริ่มกันเลย

ผมเขียนโปรแกรมได้ 1 ปีแล้วนะ :D

รูปภาพ
  วันนี้เจ้าของบล็อกขอพูดถึงเรื่องของเจ้าของบล็อกบ้างนะครับ :D  เนื่องจากว่าวันนี้ของปีที่แล้ว 3 มิ.ย. เป็นวันที่เจ้าของบล็อกได้ฝึกงานที่สถานประกอบการแห่งหนึ่ง และมีโอกาสได้ศึกษาการเขียนโปรแกรมแบบจริง ๆ จัง ๆ ซักที ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยเขียนโปรแกรมมาบ้าง ซึ่งตอนนั้นเจ้าของบล็อกก็เขียนได้แค่ if else แล้วก็ for loop กาก ๆ ซึ่งความรู้ที่มีนี้ มีเพียงน้อยนิดและเป็นเนื้อหาที่เคยศึกษามาตั้งแต่ ม.ต้น และไม่ได้ทบทวนอีกเลย จนมาถึงวันนี้เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมแบบจริง ๆ จัง ๆ กับเขาซักที

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 3 การควบคุมเปิดปิด LED ผ่าน Internet ด้วย NodeMcu

รูปภาพ
            วิธีที่เราจะควบคุม LED นั้นเราจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อนำไปเช็คเป็นเงื่อนไขว่า ถ้าเกิดเป็นค่านี้ให้ LED เปิด ถ้าเป็นอีกค่านึงให้ LED ปิด ดังนั้นหากเราต้องการสั่งให้ LED เปิดหรือปิดผ่าน Internet นั้น เราจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลบน cloud โดยเราจะทำการส่ง Http request ไปยัง server เพื่อร้องขอข้อมูลที่เราต้องการ ถ้าเราส่ง   http request ได้อย่างถูกต้องก็จะมี http response ตอบกลับจาก server โดยส่งมาพร้อมกับข้อมูลที่เราต้องการ และเราก็ทำการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ค่าที่ server ตอบกลับมานั้น มาเป็นค่าในการควบคุม LED เพื่อเปิดหรือปิดนั่นเอง ตอนนี้ผมได้อัพเดทบทความเพ ิ่มอีกในส่วนของการติดต่อข้อมูลเพื่อให้มีป ระสิ ทธิภาพมากขึ้นที่ มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 3 การควบคุมเปิดปิด LED ผ่าน Internet ด้วย NodeMcu (New Update !!)

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 2 การใช้งาน NodeMcu กับ Thingspeak

รูปภาพ
Thingspeak  เป็นเว็ปที่ให้การบริการในการเก็บข้อมูล และสามารถแสดงข้อมูลแบบ  real-time  ได้ ซึ้งเราสามารถ  update  ข้อมูล หรือจะเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ที่ไหนก็ได้ เพราะทำงานบน  cloud  ซึ่ง  thingspeak  สร้างมาเพื่อต้องการให้ตอบโจทย์ของ  IoT  อยู่แล้ว ส่วนข้อมูลที่เก็บอยู่บน  cloud  นั้นก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะใช้ยังไง รูปแบบไหน  ในการที่จะส่งข้อมูล  data  ไปไว้บน  cloud  นั้น ทาง  thingspeak  ได้มี  api  ในการติดต่อไว้เรียบร้อยแล้ว เรามาเริ่มกันเลย!!

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 1 Getting start

รูปภาพ
ในช่วงเวลานี้ถ้าถามว่าเทคโนโลยีอะไรที่กำลังมาแรง แน่นอนครับในช่วงเวลานี้มันเป็นช่วงของ IoT (Internet of Thing) นักพัฒนาต่าง ๆ ได้หันมาสนใจในเทคโนโลยีนี้มากขึ้น maker อย่างเรา ๆ ก็ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี จากที่ไม่เคยได้ยุ่งเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมติดต่อ server ก็ได้มานั่งงมกันละทีนี้ แต่ประเด็นหลักของบทความนี้จะเป็นเจ้าตัว NodeMcu v.2 ที่เจ้าของบล็อกได้ลองเล่นไปเมื่อไม่นานมานี้ มาดูกันบ้างว่าเจ้าของบล็อกทำอะไรไปบ้าง

อยากส่ง int ผ่าน Serial ไว ๆ ทำไงดี :D

รูปภาพ
      เรื่องของการส่งค่าผ่าน Serial สำหรับใครบางคนคงจะเคยใช้วิธีส่งตัวแปรแบบนี้ใช่มะ "12345" คือใช้ตัวแปรที่เป็น String number ส่งไปยังปลายทาง และพอฝั่งตัวรับปลายทางนั้นก็จะแสดงค่าเป็น 49,50,51,52,53 ถ้าหากใช้ตัวแปร int รับค่าอะนะ  int a = Serial. read ();       เพราะอะไร? เพราะค่าที่ถูกส่งไปนั้นมันเป็นค่า ascii ต่างหาก ถ้าหากเทียบจากตาราง ascii เลข '1' ที่เป็นตัวอักษรนั้นจะมีค่าเท่ากับ 49 ลองเทียบดูจากตาราง ascii ด้านล่างได้เลย

สร้างไลบรารี่ให้กับ Arduino อย่างง่าย

รูปภาพ
                 บทความนี้เจ้าของบล็อกคิดว่าน่าจะช่วยใครหลาย ๆ คนได้บ้างนะ เพราะบทความนี้จะพูดถึงการสร้างไลบรารี่แบบง่าย ๆ ให้กับ Arduino เพื่อที่จะช่วยประหยัดโค้ดและประหยัดเวลาในการเขียน ก็อย่าให้เสียเวลา มาเริ่มกันเบยย                                   ในการสร้างไลบรารี่นั้นจำเป็นต้องมีไฟล์อยู่อย่างน้อย 2 ไฟล์ขึ้นไป นั่นก็คือจะมีไฟล์ในส่วนของ header หรือ .h และไฟล์ในส่วนของ resource หรือ .cpp ในส่วนของ .h จะคล้าย ๆ เป็นการกำหนด prototype ต่าง ๆ ของไลบรารี่ เจ้าของบล็อกจะยกตัวอย่างไลบรารี่ที่เจ้าของบล็อกได้ทำขึ้นมาสำหรับ LM35 ตัวเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ