โปรเจคเล็ก ๆ การประยุกต์ใช้เซนเซอร์วัดแสง (LDR) กับ หลอด LED ในการวัดกระแสในวงจรว่าไหล่รึเปล่า


                วันนี้จะมาแนะนำกับโปรเจคเล็ก ๆ ครับ ซึ่งเจ้าของบล็อคจะใช้เจ้าพวกนี้มาประยุกต์กับโปรเจคจบของเจ้าของบล็อคกันครับ มาดูกันว่าเจ้าของบล็อคใช้อะไรกันบ้าง


  • Board Arduino
  • Resister (ค่า r ขึ้นอยู่กับงานครับว่าใช้กำลังไฟเท่าไหร่)
  • LED
  • LDR (เป็นตัววัดค่าระดับแสง)
  • Wire jumper

                ซึ่งการต่อวงจรนั้น ก็ต่อตามรูปที่เจ้าของบล็อคแนะนำมาเลยครับ (เป็นการทดลองต่อใน Protoboard เฉย ๆ นะครับ) แต่ถ้าหากผู้อ่านสงสัยว่ามันจะประยุกต์ใช้ยังไง ผู้อ่านก็ลองเอา LED นี้ไปต่ออนุกรมกับวงจรได้เลยครับ ถ้าเกิดวงจรไม่มีปัญหา LED ก็จะติดครับ แล้วให้แสงจากตัว LED เป็นตัวบ่งบอกว่าสถานะของวงจรนั้นมีกระแสไหลตามปกติหรือไม่ โดยให้เจ้าตัว LDR นี้เป็นตัวเช็คค่าแสงครับ แล้วส่งค่ากลับไปที่ Board Arduino ครับว่าตอนนี้วงจรทำงานตามปกติ แต่ถ้าหากวงจรเกิดขัดข้อง แน่นอนครับว่า LED นั้นไม่ติด ส่วนเจ้า LDR ก็ให้ส่งค่ากลับมาครับว่าตอนนี้ LED มันไม่ทำงาน

                เป็นไงบ้างละครับใช้อุปกรณ์นิดเดียวเอง เอ.. แล้วเจ้าของบล็อคเอาไปประยุกต์ใช้ยังไงหว่า  ก็คล้าย ๆ กันครับให้มันเช็คสถานะแล้วส่งค่ากลับมาที่บอร์ด แต่เจ้าของบล็อคให้มันส่งจากบอร์ดมาที่โทรศัพที่เป็น Android อีกที โดยที่เจ้าของบล็อคได้เขียน App รองรับไว้แล้ว ดังนั้นเจ้าของบล็อคก็จะสามารถเช็คสถานะได้ตลอดเวลาผ่าน App ครับ

                เป็นยังไงบ้างละครับ โปรเจคเล็ก ๆ น้อยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานใหญ่ ๆ ได้ครับ อุปกรณ์ราคาถูก ๆ แต่ถ้าหากเรามองเห็นประโยชน์ของมัน ของถูก ๆ เหล่านั้นสามารถสร้างสรรค์สุดยอดโปรเจคได้ครับ ยังไงเจ้าของบล็อคก็ฝากผู้อ่านไปประยุกต์ได้เลย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

มาทำวงจรเปิดปิด LED ด้วย Sensor LDR กันเถอะ ตอนที่ 1

สร้างไลบรารี่ให้กับ Arduino อย่างง่าย