ตัวแปร และ Data type

                ในบทความนี้ขอพูดถึงเรื่อง ตัวแปรและชนิดของตัวแปรกันนะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากเขียนโปรแกรมในระดับ Advance เข้าไปอีกตัวแปรแต่ละชนิดนั้นจำเป็นมากจริง ๆ ครับเพราะฉนั้นแล้วควรศึกษาไว้ครับ

                ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนครับว่าตัวแปรคืออะไร ตัวแปรจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ชั่วคราวในระหว่างประมวลผลครับ โดยตัวแปรจะสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบ ตัวเลข ตัวอักษร หรือ ข้อความต่าง ๆ ครับ โดยเราสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับมันได้และสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตลอด

Simple Code จะเป็นการกำหนดตัวแปรแต่ละชนิดกันครับ
Note:ตัวแปร char กับ String สังเกตุที่ค่าตัวแปร char จะกำหนดตัวแปรภายใต้   '...' ส่วน Stringนั้นจะกำหนดตัวแปรภายใต้ "..."

                จาก Simple Code เจ้าของได้ประกาศตัวแปรไปทั้งหมด 5 ตัวแปร เป็นตัวแปรที่ใช้กันบ่อย ๆ นะครับ จะขอเริ่มอธิบายเลยละกัน

  • บรรทัดที่ 4 คือการประกาศตัวแปรประเภท Integer ครับ นั่นก็คือตัวเลขจำนวนเต็ม โดยเจ้าของบล็อกได้ตั้งชื่อตัวแปรว่า number ให้เป็น Integer แล้วกำหนดให้ number มีค่าเท่ากับ 10 ตอนนี้ตัวแปรของเราก็จะมีค่า 10 นั่นเอง
  • บรรทัดที่ 5 คือการประกาศตัวแปรประเภท Float ครับ หรือก็คือตัวเลขจำนวนจริง ซึ่งเก็บเป็นข้อมูลตัวเลขให้อยู่ในรูปของทศนิยม เจ้าของบล็อกได้สร้างตัวแปร Float ชื่อว่า pi แล้วกำหนดให้ pi นั้นมีค่าเท่ากับ 3.1413 ตัวแปร pi ของเราตอนนี้ก็จะเท่ากับ 3.14.13 ครับ
  • บรรทัดที่ 6 คือการประกาศตัวแปรประเภท char ครับ เจ้าของบล็อกได้ตั้งชื่อตัวแปรว่า word ในตัวแปรประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเป็นประเภท ตัวอักษร ครับจะสามารถเก็บได้ทีละตัวเท่านั้น ถ้าหากจะเก็บเป็นข้อความยาว ๆ แนะนำใช้ String ครับ แต่จริง ๆ ข้อมูล char นั้นก็สามารถเก็บเป็นข้อความได้เช่นเดียวกันนะครับเพียงแต่เก็บในรูปแบบ array นั่นเอง เดี๋ยวจะพูดเรื่องนี้ในบทความต่อไป
  • บรรทัดที่ 7 เป็นการประกาศตัวแปรประเภทข้อความครับ เจ้าของบล็อกได้สร้างตัวแปรที่เป็นชนิดข้อความไว้ โดยตั้งชื่อว่า name ครับ ตัวแปรนี้จะสามารถเก็บเป็นข้อได้เพราะฉนั้นเจ้าของบล็อกก็เลยกำหนดข้อมูลให้กับตัวแปรว่า "Hello" นั่นเองครับ
  • บรรทัดที่ 8 เป็นการประกาศตัวแปรให้เป็นประเภท byte ครับ ตัวแปรประเภทนี้จะไม่ค่อยเห็นคนใช้เท่าไหร่นะครับสำหรับผู้อ่านที่หัดเขียนโปรแกรมเริ่มต้น มันเป็นตัวเลขเลขก็จริงแต่ค่ามันเก็บได้ถึงแค่ 127 เอง แต่จริง ๆ แล้วมักนิยมเอาค่า byte นี้ไปใช้กับการส่งข้อมูลหากันอย่างเช่น เขียนโปรแกรมให้ติดต่อกันผ่าน TCP Socket ฯลฯ ข้อมูลที่ส่งหากันนั้นช่วงระหว่างที่ส่งจะต้องแปลงเป็น byte ให้หมดครับ เจ้าของบล็อกจะยังไม่เขียนแนะนำข้อมูลประเภทนี้เท่าไหร่แต่จะเห็นผ่าน ๆ ตาในโปรเจคที่เจ้าของบล็อกทำ
  • บรรทัดที่ 9 ตัวแปรประเภท boolean ครับ โดยการกำหนดค่าให้กับตัวแปรประเภทนี้จะกำหนดค่าได้แค่ 2 ค่าเท่านั้นก็คือ true และ false นั่นเองครับ ถามว่าสำคัญยังไง ส่วนมากเขามักจะนิยมไว้เก็บสถานะของโปรแกรมครับว่าทำงานหรือไม่ทำงาน หรือแล้วแต่ผู้อ่านจะประยุกต์เลย
               นี่ก็คือการกำหนดตัวแปรและชนิดของตัวแปรแบบคร่าว ๆ นะครับเฉพาะที่จำเป็นที่ต้องรู้ในระดับเบื้องต้นก่อน จริง ๆ จะมีเจาะลึกในแต่ละตัวแปรด้วยครับว่าจะมี method อะไรข้างใน class บ้างอย่างพวก String , Integer อะไรประมาณนี้ ยังมีเจาะลึกเข้าไปอีก จะขออธิบายพวกนี้ในบทความต่อไปนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

มาทำวงจรเปิดปิด LED ด้วย Sensor LDR กันเถอะ ตอนที่ 1

สร้างไลบรารี่ให้กับ Arduino อย่างง่าย