เก็บตกบรรยากาศงาน Chiang mai maker party 2018

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี ในช่วงที่อากาศหนาวกำลังเย็นลง  หลาย ๆ คนคงกำลังเริ่มที่จะจองที่พักหรือหาสถานที่ท่องเที่ยวในหน้าหนาวกันบ้างแล้ว แน่นอนว่าที่เชียงใหม่ก็คงเป็นสถานที่แรก  ๆ ที่เราจะนึกถึงกัน  แต่เดี๋ยว.. นี่ไม่ใช่บทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวนะ แต่แค่จะบอกว่า นอกจากสถานที่เที่ยวแล้ว เชียงใหม่ยังมีงานที่น่าสนใจอย่างงาน Chiang mai maker party  อยู่ด้วยย ซึ่งแน่นอนว่างานนี้จัดขึ้นทุก ๆ ปี และปีนี้ก็เป็นปีที่ 5 แล้วด้วย




Chiang mai maker party คืองานอะไร ต้องบอกก่อนว่างานนี้เจ้าของบล็อกได้เข้าร่วมทุก ๆ ปี และในทุก ๆ ปี งานก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนและเป็นหัวใจสำคัญ คือ การได้พบปะเพื่อน maker เมื่อเราได้พบ เมื่อเราได้รู้จัก เมื่อเราได้สานสัมพันธ์ มันจึงเกิดและกลายเป็น Community ขึ้นมา

ในบทความนี้เจ้าของบล็อกก็จะพาผู้อ่านไปชมบรรยากาศภายในงานว่าจะเป็นยังไงกันบ้าง


เจ้าของบล็อกเริ่มออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยรถส่วนตัวของปริ้นท์น้องที่ร่วมเดินทางด้วยกันจากเพจ PrinceBot และมิลน้องจากเพจ Admil และอีกคนที่เรียกได้ว่าเป็นแฟนของงานนี้เลยคือพี่แจ็คประธาน HONEYLab 

เรามาถึงก่อนวันงาน 1 วัน เพื่อแวะไปพบปะและทักทายพี่ ๆ ในชมรม Chiang mai maker club ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดงาน Chiang mai maker party ขึ้นมา

credit: Nat Weerawan
หลังจากพูดคุยทักทายกันเราก็แยกย้ายหาที่พักสำหรับคืนนี้ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เจ้าของบล็อกก็จะข้ามไปที่วันงานเลยแล้วกัน

. . .


ภาพแรกกับโต๊ะสำหรับลงทะเบียนเข้าร่วมงานนะครับ ก็จะมีแบบให้ลงชื่อที่หน้างานและสำหรับคนที่ลงทะเบียนผ่าน event pop ก็เข้าร่วมงานได้เลย เอ้อ มีขนมให้หยิบไปทานได้ในงานด้วยนะ


บูธแรกของงานที่เจอก่อนเลยก็คือ บูธของชมรม Chiang mai maker club นั่นเอง เจ้าของบล็อกก็แอบถาม ๆ ไปว่า
"ทำไมปีนี้ของมาโชว์น้อยจังเลย"
พี่นัทประธานชมรมก็ตอบมาอย่างขำ ๆ ว่า 
"ก็รอให้คนมาเติมอยู่น่ะสิ"
พวกเราก็หัวเราะขำกันซักพัก ก็คุยกันต่อ โดยเริ่มจากให้พี่นัทได้เริ่มอธิบายกับสิ่งที่เอามาแสดง เป็น Project ที่ใช้ NBIoT ทำเป็น IoT Device ซึ่งเราคุยกันเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เก็บมาไม่หมด ถ้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมยังไงที่ชมรมก็เปิดต้อนรับให้คนทั่วไปให้เข้าไปเรียนรู้หรือปรึกษาได้ตลอดอยู่แล้ว


ยังอยู่ที่บูธของชมรม ใน Project นี้ก็ใช้บอร์ด KidBright มาสร้างเป็น Drone บังคับ สำหรับตัวบอร์ด KidBright Community ยังไม่เยอะ ชมรมก็เป็นส่วนนึงที่พยายามผลักดันสร้างสื่อสร้าง Extension ให้กับตัวบอร์ด KidBright เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายใน Community


ข้าง ๆ กันนี้ก็จะมีผลงานรถบังคับผ่าน Application ของน้องในชมรม ซึ่งตัวเจ้าของบล็อกเองก็จำชื่อไม่ได้ว่าน้องชื่ออะไร น่าจะเรียนอยู่วัยประถม แต่ความสามารถและความสนใจไม่ธรรมดาเลยทีเดียวที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานตัวนี้ขึ้นมาได้


ในบูธถัดมาก็เป็นบูธของ EDCO ก็จะเป็นบูธเกี่ยวกับสื่อการเรียนเช่นชุดหุ่นยนต์ ชุด Electronic Board ซึ่งถือได้ว่าครบเครื่องกันเลยทีเดียว ทางบูธบอกว่าร้านจะอยู่ที่พันทิพย์ชั้น 4 มีเปิดเป็น Course เรียนด้วย


ถัดมาก็จะเป็นบูธของ Gravitech ก็จะมีของมาขายมากมายตัวเด่น ๆ ก็จะมี KidBright และ Node32 Lite ที่วางขายได้ราคาที่ถูกมาก


ใกล้ ๆ กันนั้น ที่บูธก็จะมีเกมให้เล่น เป็นเกมกงล้อหรรษาที่ทำขึ้นจาก KidBright สำหรับแลกของรางวัล แต่ต้องซื้อของให้ครบ 2000 บาทก่อนนะ ไม่งั้นจะไม่ได้ของรางวัล ได้แค่หมุนเล่นเฉย ๆ แทน



อีกเกมไว้เล่นแข่งกันกับเพื่อน เกมนี้จะเป็นเกมปุ่มกด ให้เรากดปุ่มในเวลาที่กำหนด แล้วสุดท้ายจะมีคะแนนมาให้อวดกันกับเพื่อน ๆ เป็นอีกเกมที่ได้สร้างเสียงหัวเราะกับคนที่มาเล่น



ในบูธถัดมาก็คือบูธของ Healthcare เป็นบูธที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printer มาสร้างสรรค์ผลงานทางการแพทย์ โดยมุ่งหวังว่าอยากเห็น maker หลาย ๆ คนหันมาสร้างสรรค์ผลงานด้านการแพทย์ เพื่อที่จะช่วยให้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์มีราคาที่ถูกลง




ที่เห็นอยู่ด้านหน้าเป็นเฝือกสำหรับใส่นิ้วโป้ง

บูธถัดไปใกล้ ๆ กันนี้เป็นบูธชื่อว่า Micky เป็นบูธจากเพจ PrinceBot สิ่งที่นำมาเสนอคือ BotI (บอทวัน) เป็นบอร์ดที่ใช้ ESP32 เป็น Controller เหมาะกับการนำมาใช้สำหรับแข่งหุ่นยนต์ และอีกชิ้นก็คือแขนกล



บูธต่อไปคือบูธของ Easy Build ในบูธนี้ก็นำเสนอ Product ของตัวเองมาโชว์เช่นบอร์ด Controller ที่มาพร้อมกับตัว Driver เสร็จสรรพ เหมาะกับการนำไปใช้ทำพวก cartesian robot การต่อสายไฟก็ง่าย สามารถต่อผ่านสาย LAN





บูธถัดมาเป็นบูธของน้อง ๆ โรงรียนดาราวิทยาลัย Project นี้น่าสนใจมาก น้องบอกว่าน้องพยายามจำลองดาวเทียมให้มีขนาดเล็กลง เหลือเพียงเท่ากระป๋องเท่านั้นเอง จากนั้นก็เอาไปปล่อยในอากาศ ความสามารถของตัวนี้ สามารถวัดก๊าสคาบอนไดออกไซด์ วัดความดันและความชื้น และยังมีกล้องติดไว้สำหรับถ่ายภาพด้วย


ต่อที่บูธของ GoGo Board เป็นบอร์ดเพื่อการเรียนรู้ ใช้งานง่ายมาก ๆ การเขียนโปรแกรมจะใช้แบบ Block programming เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นสนใจเขียนโปรแกรมบนบอร์ด Controller มี Extension ให้ใช้หลากหลายมาพร้อมเป็นชุด set เลยทีเดียว




ต่อกันที่บูธของ Technology for Kid ที่บูธนี้มีนำเสนอชุดการเรียนรู้หุ่นยนต์ Lego และภายในบูธมีให้ลองบัดกรีวงจรได้ด้วย


เดินวนมาต่อที่บูธของ ThaiEasyElect ที่บูธนี้ก็จะมี Project เอามาตั้งโชว์ ก็จะมี lidar เป็นเซนเซอร์ที่จะตรวจจับวัตถุโดยรอบแล้วแสดงผลใน Dot Matrix และอีกโปรเจคก็คือเป็นแขนกลที่คอยหยิบบอลเล็ก ๆ มาวางไว้บนรางด้านบน วนลูปไปเรื่อย ๆ




ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานที่เจ้าบล็อกได้บันทึกภาพไว้ ยังมีอีกหลายบูธที่ไม่ได้ไปพูดคุยด้วย จริง ๆ ยังมี workshop และกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานด้วยแต่ไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศมาให้ชม

สำหรับ Chiang mai maker party ปีหน้า 2019 เจ้าของบล็อกรับรองว่ามีเรื่องสนุก ๆ เยอะมาก แอบฟังสปอยมาบ้างเรียบร้อยแล้ว ยังไงก็ขอเชิญชวน maker ทุก ๆ คน ที่ได้อ่านบทความนี้ เราลองมารู้จักกันเถอะ :) เจอกันปีหน้านะ #CMMP2019

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 1 เกริ่นพีทาโกรัส

Pointer กับตัวแปร Array นะจ๊ะ.. [Back to basic แต่ไม่ basic]