EEPROM เก็บข้อมูลยังไงนะ

บทความนี้เขียนขึ้นมาพร้อม ๆ กับบทความ review วิชา Embedded แต่มันมีเนื้อหาที่ค่อนข้างลึก เจ้าของบล็อกจึงเลือกเขียนในบทความแยกน่าจะดีกว่า

ถ้าพูดถึงการเก็บข้อมูลแล้ว ข้างในวงจรมันก็มีพวก transister ต่าง ๆ นั่นแหละ แต่สิ่งที่ทำให้ EEPROM ยังเก็บข้อมูลและยังรักษาข้อมูลไว้ได้ ขณะบอร์ดไม่ได้จิ้มไฟ ตรงนี้ก็เพราะความพิเศษของ transistor ที่เอามาใช้ใน EEPROM ก็คือ floating gate transistor

https://cdn.ttgtmedia.com/rms/onlineImages/floating_gate_flash_mem.jpg
ซึ่งตัว Floating gate ตัวนี้จะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ capacitor 


เมื่อเราเริ่มจ่ายไฟให้กับ control gate ประจุลบก็จะถูกดูดขึ้นไปหาประจุบวก แต่ว่ามันจะติดอยู่ตรงชั้นของ floating gate ทำให้กลายเป็นว่า charge ประจุลบเข้าไปให้กับ floating gate แทน


เมื่อประจุใน floating gate มากกว่า 50% ก็จะทำให้ประจุลบวิ่งผ่านไปได้สถานะจะเป็น 0 แต่ถ้าต่ำกว่า 50% สถานะก็จะเป็น 1


การลบข้อมูลเราก็จะใส่ประจุลบเข้าไปที่ gate control เพื่อให้ประจุลบที่ค้างอยู่ที่ floating gate กระจายตัวออกไป (discharge)

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจว่า EEPROM ใช้ สนามไฟฟ้าเป็นกลไกการเก็บข้อมูล นั่นหมายความว่า ถ้าหากเกิดสนามไฟฟ้าจากข้างนอก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวบอร์ด MCU มีสิทธิ์ที่จะทำให้ข้อมูลหน่วยความจำใน EEPROM หายไปได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 1 เกริ่นพีทาโกรัส

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 3 โจทย์พีทาโกรัส (จบ)