มาทำวงจรเปิดปิด LED ด้วย Sensor LDR กันเถอะ ตอนที่ 2
จากตอนที่ 1 มาทำวงจรเปิดปิด LED ด้วย Sensor LDR กันเถอะ ตอนที่ 1 เราได้รู้จักกับ concept การทำวงจร แล้วก็ comparator ไปกันบ้างแล้ว และพวกคำนวณเกี่ยวกับตัวต้านทานด้วย แต่ว่าตอนนี้เรายังคำนวณกันยังไม่เสร็จเลยนี่สิ เพราะว่าเรายังเหลือแรงดัน Input reference กันอยู่ แล้วเราจะสร้างแรงดัน reference ขึ้นมาได้ยังไง มาต่อกันเลย
จากบทความที่แล้ว ที่เจ้าของบล็อกทิ้งท้ายไว้นะครับว่าเจ้าตัวแรงดัน reference มันก็ใช้วิธีคล้าย ๆ กันกับแรงดัน Input เลย เราแค่หาตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ ที่เราสามารถปรับค่าความต้านทานได้เอง หรือไม่ก็คำนวณเอาเลยว่าจะใช้แรงดัน reference ที่กี่โวลต์ แล้วก็ไปคำนวณว่าต้องใช้ค่าความต้านทานเท่าไหร่ #แต่ เจ้าของบล็อกแนะนำให้ใช้ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ครับ เพราะว่าแสงเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน เพราะฉนั้นแรงดัน reference ของเราควรสามารถปรับค่าได้เหมือนกัน
แล้วเราควรใช้อุปกรณ์ตัวไหนดี?
อุปกรณ์ที่จะอธิบายในนี้คือตัวต้านแบบปรับค่าได้ครับ เวลาเราจะปรับค่ามันเราก็แค่ไปปรับหมุนมัน ยกตัวอย่างก็เป็นพวกเครื่องเสียงที่มันมีโวลุมปรับเสียง ไอ่ตัวนั้นก็คือตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
เรามาพูดถึงวงจรกันดีกว่า
จะเห็นว่าสัญลักษ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้จะมีลูกศรชี้มาที่ตัวเอง แล้วค่าความต้านทานของมันเป็นยังไง? ในแต่ละตัวจะมีบอกว่าตัวเองมีค่าความต้านทานเท่าไหร่ ตัวอย่างตัวต้านที่เจ้าของบล็อกใช้คือ 10k.. 10k ในที่นี้คือเราสามารถปรับค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ เกือบ 0 จนถึง 10k ohm ถ้าหมุนตัวต้านทานมาครึ่งนึงก็จะมีค่าความต้านทาน 5k ohm
แล้วเราจะให้แรงดัน reference ที่เท่าไหร่ดี?
ในบทความก่อนหน้านี้เราได้คำนวณแรงดัน input ที่ 1.5v ในสภาพแสงที่ปกติ แต่!! แสงอาจจะเปลี่ยนได้ อาจจะมากขึ้นหรือลดลง มันจะไม่ใช่ 1.5v เสมอไป อาจจะเป็น 1.8v หรือ 1.2v เพราะฉนั้นเราควรให้แรงดัน reference เราปรับได้ครอบคลุมที่สุด
วิธีคิดง่าย ๆ เลย เราควรคิดเผื่อไว้ให้เยอะ ๆ ไปเลย ตัวต้านทานปรับค่าได้ของเจ้าของบล็อกคือ 10k ohm ก็คิดไว้เลยว่าที่ 10k ohm จะเอาค่าแรงดันเท่าไหร่ดี สมมติเจ้าของบล็อกจะให้แรงดัน reference ที่แรงดันสูงสุดที่ 10k ohm เป็น 3v เราก็จะมาคำนวณกันเหมือนกับวิธีของตอนที่ 1
เราก็แทนค่าตัวแปรจากข้อมูลที่เรามี ก็จะเหลือแค่ R1 เหมือนเดิมที่เรายังไม่รู้ เราก็กลับข้างสมการหา R1 เหมือนเดิม ก็จะได้ตามรูปด้านล่าง
จากบทความที่แล้ว ที่เจ้าของบล็อกทิ้งท้ายไว้นะครับว่าเจ้าตัวแรงดัน reference มันก็ใช้วิธีคล้าย ๆ กันกับแรงดัน Input เลย เราแค่หาตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ ที่เราสามารถปรับค่าความต้านทานได้เอง หรือไม่ก็คำนวณเอาเลยว่าจะใช้แรงดัน reference ที่กี่โวลต์ แล้วก็ไปคำนวณว่าต้องใช้ค่าความต้านทานเท่าไหร่ #แต่ เจ้าของบล็อกแนะนำให้ใช้ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ครับ เพราะว่าแสงเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน เพราะฉนั้นแรงดัน reference ของเราควรสามารถปรับค่าได้เหมือนกัน
แล้วเราควรใช้อุปกรณ์ตัวไหนดี?
อุปกรณ์ที่จะอธิบายในนี้คือตัวต้านแบบปรับค่าได้ครับ เวลาเราจะปรับค่ามันเราก็แค่ไปปรับหมุนมัน ยกตัวอย่างก็เป็นพวกเครื่องเสียงที่มันมีโวลุมปรับเสียง ไอ่ตัวนั้นก็คือตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
เรามาพูดถึงวงจรกันดีกว่า
แล้วเราจะให้แรงดัน reference ที่เท่าไหร่ดี?
ในบทความก่อนหน้านี้เราได้คำนวณแรงดัน input ที่ 1.5v ในสภาพแสงที่ปกติ แต่!! แสงอาจจะเปลี่ยนได้ อาจจะมากขึ้นหรือลดลง มันจะไม่ใช่ 1.5v เสมอไป อาจจะเป็น 1.8v หรือ 1.2v เพราะฉนั้นเราควรให้แรงดัน reference เราปรับได้ครอบคลุมที่สุด
วิธีคิดง่าย ๆ เลย เราควรคิดเผื่อไว้ให้เยอะ ๆ ไปเลย ตัวต้านทานปรับค่าได้ของเจ้าของบล็อกคือ 10k ohm ก็คิดไว้เลยว่าที่ 10k ohm จะเอาค่าแรงดันเท่าไหร่ดี สมมติเจ้าของบล็อกจะให้แรงดัน reference ที่แรงดันสูงสุดที่ 10k ohm เป็น 3v เราก็จะมาคำนวณกันเหมือนกับวิธีของตอนที่ 1
เราก็แทนค่าตัวแปรจากข้อมูลที่เรามี ก็จะเหลือแค่ R1 เหมือนเดิมที่เรายังไม่รู้ เราก็กลับข้างสมการหา R1 เหมือนเดิม ก็จะได้ตามรูปด้านล่าง
โอเค.. ตอนนี้เราก็ได้แรงดันที่เอาไว้ Input ทั้งสองฝั่งแล้ว ในบทความนี้และบทความที่ผ่านมาเป็นแค่ทฤษฎีและก็หลักการของ comparator ว่าตัว comparator นี้มันคือการเปรียบเทียบกันของแรงดันทั้ง 2 Input ถ้าเงื่อนไขถูกต้อง Output ก็จะ HIGH ออกมา ถ้าใครเคยเขียนโปรแกรมก็จะคล้าย ๆ กับ if else นั่นแหละ ในบทความต่อไปเดี๋ยวจะเริ่มของจริงแล้วนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น