เที่ยวงาน Bangkok mini Maker fair :)
สวัสดีครับ :) วันนี้เจ้าของบล็อกจะพูดถึงงาน maker ในเมืองไทย เนื่องจากวันที่ 26-27 กันยายนนี้มีงาน Bangkok mini maker fair จัดขึ้นซึ่งเจ้าของบล็อกก็จะไม่พลาดที่จะไป แต่เจ้าของบล็อกได้ไปเพียงวันที่ 27 วันเดียวเท่านั้นก็คือวันอาทิตย์นี้ แต่ก็เป็นช่วงที่ไม่ดีนักเพราะว่าระหว่างเดินทางฝนก็ตกซะงั้น พอไปถึงงานบางบูธก็เก็บของกลับบ้านกันเรียบร้อย T_T (กว่าจะเดินทางไปถึงประมาณ 4 โมงเย็นกว่า ๆ) ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก บ่นพอแล้วละ 555 ขอเล่าตามรูปที่เจ้าของบล็อกได้ถ่ายมานะครับ
อันดับแรกที่หน้างานขอถ่ายรูปกับยักษ์ก่อนเลย บ่งบอกได้ถึงความเป็นไทยจริง ๆ :)
เมื่อเข้าไปในงาน ในส่วนแรกเราจะต้อง Register กันก่อน ซึ่งทางงานเขาก็จะให้แบบสอบถามถึงความสนใจของเรา แล้วก็คำถามทั่วไปอย่าง ชื่ออะไร เป็นอะไร ทำอะไร ประมาณนี้ครับ และก็จะได้ ฺBrochure มาอันนึง
พอเดินไปเรื่อย ๆ แรก ๆ ก็จะเจอกับ sponsor ต่าง ๆ ถ้าดูจากแผนที่ในงานที่ให้มากับ Brochure ซึ่งในส่วนนี้ก็จะแสดงเกี่ยวกับ 3D Printer กับ model ต่าง ๆ ซึ่งทำออกมาได้ดีมาก ในส่วนนี้ผมยังไม่ได้ถามอะไรเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้ามากนะครับ ดู ๆ ถ่าย ๆ รูปแล้วก็ผ่าน ๆ ไป
รูปนี้คนเยอะเกินครับไม่กล้าเบียดเข้าไป ก็เลยถ่ายได้เท่านี้แหะ ๆ ^_^!
ตรงนี้ก็เป็นในส่วนของ model ที่เอามาโชว์กันนะครับ
ลำดับต่อมาเจ้าของบล็อกได้เข้าไปเยี่ยมชมในบูธของอาจารย์มิ้นท์ ^0^ หรือ ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ ก็คืออาจารย์ที่สอนอยู่ที่ FIBO ที่เจ้าของบล็อกกำลังศึกษาอยู่นั่นเองง ถ่ายมารูปเดียวต้องขออภัยด้วยนะครับ T_T
จากในรูปนะครับ ที่ได้ฟังจากอาจารย์และจากการสอบถามพี่ ๆ คือ project นี้ทำเพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ครับ ซึ่งจะเป็นการแก้สมาการ 2 ตัวแปร ถ้าเป็นเด็กบางคนก็อาจจะบอกว่ายาก แต่ถ้าหากให้เจ้า project นี้ช่วยก็จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการวางบล็อกรูปเลขาคณิตต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของ Application นั้นก็มี Pattern ในการวางบล็อกแต่ละชิ้นว่าควรต้องวางอย่างไร ซึ่งการวางบล็อกก็จะเป็นการแก้สมาการไปในตัว ในระหว่างเล่น เด็ก ๆ ก็จะสนุกไปด้วย และได้เกิดการเรียนรู้ไปในตัวด้วย เป็นโปรเจคที่เยี่ยมมากครับ O_O
ส่วนเจ้าตุ๊กตาหมาที่อยู่มุมล่างขวาของรูปนั้น ตามที่สอบถามพี่ ๆ บอกว่า เจ้าตัวหมานั้นจะติดกล้องไว้ที่ตาซึ่งในส่วนนี้ ก็ได้มีการเขียนโปรแกรมแบบ image processing ทำให้เจ้าหมานั้นสามารถ Detect ใบหน้าคนได้แล้ว ซึ่งเมื่อเจอกับคน ก็จะหันหน้าไปหาคน ๆ นั้น พี่เค้าบอกว่าจะพัฒนาไปอีกให้สามารถรับรู้อารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ ได้ด้วย ถือว่าเป็นความท้าทายขึ้นไปอีก
ในบูธถัดมาเจ้าของบล็อกก็มาหยุดอยู่ที่บูธของ Thairobotics กันนะครับ รูปนี้ถ่ายไม่ชัดอีกแล้ว T_T สำหรับบูธนี้เจ้าของบล็อกไม่ได้สอบถามรายละเอียดอะไรนะครับ แต่ก็ฟังจากที่พี่เค้าอธิบายให้กับท่านอื่นฟัง จะมีสอง project ก็คือ Wall Detect Glass กับ BB-8
ในส่วนของ Wall Detect Glass นั้น จากที่พี่เข้าอธิบายมา จะใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาครับ ซึ่งแว่นนี้ก็จะติดตัว Ultra sonic ไว้ที่แว่นตาด้วย ซึ่งตัว Ultra sonic นั้นจะสามารถตรวจสอบได้ว่า มีวัตถุอะไรบัง หรือมีสิงกีดขวาง หรือว่ามีกำแพงอยู่ข้างหน้ารึป่าว ซึ่งตัวเซนเซอร์นี้สามารถตรวจจับได้ในระยะ 40 cm เมื่อตรวจพบสิ่งกีดขวางมอเตอร์สั่นที่อยู่ในแว่นตาก็จะทำงาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นระยะที่พอเหมาะถ้าหากมีวัตถุหรือกำแพงอยู่ข้างหน้าก็จะสามารถหลบได้ทันท่วงที
ส่วนของหุ่นยนต์ BB-8 พี่ ๆ เค้าก็เฉลยเกี่ยวกับกลไกในการเคลื่อนที่ของมัน ทำให้ทราบว่าภายในหุ่นยนต์กลม ๆ นั้นข้างในจะกลวง ๆ เพื่อให้สามารถใส่หุ่นยนต์บังคับตามแบบในรูปให้เข้าไป โดยการเคลื่อนที่นั้นก็จะเคลื่อนที่ตามหุ่นยนต์รถบังคับตัวนั้น ซึ่งพี่เข้าก็ได้ใส่ตัวทุ่นน้ำหนักไว้ด้านล่างหุ่นยนต์เพื่อที่จะทำให้เกิด center of mass ทำให้ไม่เสียการทรงตัวในการเคลื่อนที่
ในส่วนของหัวของเจ้าตัว BB-8 ที่ทำให้หัวนั้นยึดติดกับหุ่นได้นั้นเนื่องมาจากแม่เหล็กที่คอยดูดเจ้าหัวนั้นและในขณะเคลื่อนที่ ตัวคันโยกของรีโมทบังคับจะมีตัวควบคุมในส่วนของหัวซึ่งเวลาเคลื่อนที่เราก็สามารถบังคับในส่วนหัว เพื่อไม่ให้หัวมันตกลงมาได้
นี่ก็จะเป็นคลิปตัวอย่างการเคลื่อนที่ ที่ทาง Thairobotics ได้ทำไว้ครับ :)
ในบูธต่อมา จากที่เจ้าของบล็อกได้สอบถามนะครับ จะเป็นโปรเจค IoT เกี่ยวกับการดูแลเจ้าเหมียวนะครับ ซึ่งไอ่เจ้าเตียงนอนที่มีตุ๊กตาอยู่นั้นเพื่อจำลองสถานการณ์ว่า ถ้าหากมีเจ้าเหมียวนอนอยู่ที่นั้นจริง ๆ จะทำการส่งข้อมูลไปที่ could server และสามารถตรวจดูพฤติกรรมของเจ้าเหมียวนี้ผ่านทาง internet ได้ถ้าหากว่าเจ้าเหมียวมันนอนอยู่ที่เตียงก็จะส่งข้อมูลไปที่ could server ครับ และเมื่อเวลาที่เราต้องการดูว่าเจ้าแมวเหมียวนั้นทำอะไร ในฝั่ง client ที่ connect ผ่าน web application นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าเจ้าแมวเหมียวของเรากำลังหลับอยู่
จากกระบอกน้ำสีเขียว ๆ นั้น เราสามารถสั่งผ่าน internet ได้ว่าหากต้องการเติมน้ำให้เจ้าแมวเหมียว ก็จะส่งข้อมูลมายัง server และก็ให้เจ้าตัว NodeMCU ตัวเหลือง ๆ นั้น get data จาก server เพื่อที่จะมาสั่ง relay ให้มอเตอร์ที่ต่อกับกลไกสูบน้ำ ทำให้สูบน้ำจากกระบอกฝาเขียว ๆ นั้นมาไว้ที่ถาดน้ำที่จัดเตรียมไว้ให้
ส่วนใน could server จากที่ถามรุ่นพี่เค้ามา คือพี่เค้าใช้จาก www.anto.io ซึ่งทางพี่เค้าก็ได้พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งในส่วนนี้พี่เค้าได้ทำ API ในการติดต่อไว้ให้ ซึ่งพี่เค้าก็ได้ทำ Library ออกมาเพื่อใช้สำหรับ Nodemcu โดยเฉพาะซึ่งการใช้งานจะง่ายมาก ๆ เพียงคำสั่งประมาณ 6-8 บรรทัดก็สามารถ setup wifi ส่ง data ไป server หรือ get data จาก server ได้ ซึ่งในส่วนของ Library นั้นพี่เค้ากำลังพัฒนา ซึ่งจะ public ให้ใช้ประมาณกลางเดือนหน้า และมีแผนว่าจะทำ Library ให้ Support กับทาง MCU อย่าง Arduino ด้วย ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้จาก Facebook fan page เลยนะครับ
พอเดินมาอีก ก็เสียดายมากที่บูธของ Home of Maker จาก Gravitech กำลังเก็บของ และที่อยู่ด้านหลังนั้นก็กำลังแข่งหุ่นยนต์ Hebocon กันครับซึ่งเจ้าของบล็อกก็ไม่ได้เข้าไปดูเพราะคนแน่นมาก จึงเดินไปยังบูธต่อไป
เดินต่อมาก็พลาดอีกครับ งานนี้เจ้าของบล็อกกะไว้ว่าจะมาเยี่ยมพี่ ๆ ที่เชียงใหม่หน่อย แต่พอมาเหลือเพียงแค่พี่นัทประธานชมรมเท่านั้น พี่ ๆ คนอื่น ๆ เตรียมตัวกลับเชียงใหม่กันหมดเลย T_T เศร้า
ในบูธถัดมาก็จะเป็นบูธของพี่อาร์ทครับ หรือ อาจารย์ อาคม ไทยเจริญ ซึ่งเป็นผู้ที่แนะนำเจ้าของบล็อกศึกษาต่อที่ FIBO ครับ ซึ่งก็ได้รู้จักกันตอนไปอบรม Arduino กับพี่อาร์ทเมื่อประมาณปีที่แล้ว ในส่วนของ project พี่อาร์ทบอกว่าในวันสุดท้ายนี้ได้เอามาโชวแค่บางส่วนครับ ต่างกับวันแรกที่พี่อาร์ทบอกว่ามีทั้งหุ่นยนต์ด้วย ซึ่งโปรเจคที่เห็นก็คือเป็นเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติครับ MCU ที่ใช้ควบคุมก็จะเป็นเจ้า Arduino ส่วนบอร์ดใกล้ ๆ กันนั้น น่าจะเป็น arduino กับ funbasic i/o shield นะครับ เป็นบอร์ดที่ไว้ใช้สำหรับพื้นฐานของ arduino เหมาะสมหรับผู้ต้องการศึกษาในขึ้น basic เพราะใน shield มีทั้งสั่งควบคุม input/output ได้ ถือว่าเป็นบอร์ดเรียนรู้ที่ดีเลยครับ
ต่อมาก็จะเป็นบูธของพี่ ๆ INEX กันครับ มาวันนี้เจอพี่เล็ก กับพี่แนทเฝ้าที่บูธ INEX กัน ส่วนพี่ ๆ ท่านอื่นน่าจะอยู่ในส่วน workshop กัน
สำหรับบูธนี้พี่ ๆ เค้าก็จะแสดงสินค้าใหม่ ๆ และสินค้าที่พัฒนาขึ้นเอง ในส่วนนี้ผมสนใจเป็นพิเศษก็คือ Circuit Scribe หรือ ปากกาลูกลื่นนำไฟฟ้า ซึ่งเราสามารถเอาปากกานั้นไปวาดลงบนกระดาษได้เลย ไม่จำเป็นต้องออกแบบ PCB กัดปริ้นท์ เราแค่ลากเส้นตามจินตาการของเรา จากที่สอบถามมาตัวหมึกปากกามีความต้านทานเพียงแค่ 2 - 10 ohm ถือว่าน้อยมาก เมื่อนำมาวาดเส้นยาว ๆ สามารถวาดยาวได้ 60 - 200 เมตรแล้วแต่ลักษณะการวาดกับกระดาษที่ใช้
และนี่ก็เป็นทั้งหมดที่เจ้าของบล็อกเดินไปงานวันนี้ รู้สึกว่าพลาดมากที่ไปช่วงที่เค้าเก็บของกันเสร็จหมดแล้ว บางส่วนเลยไม่ได้ถ่ายมา
ในระหว่างจะออกจากงานก็เจอกับผลงานสุด Creative อย่างหุ่นยนต์ transformer Bumblebee
ที่เจ้าของบล็อกต้อง sensor หน้าต้องขออภัย เพราะรูปที่ถ่ายกับ bumblebee มีแค่รูปเดียวแล้วหน้าก็ไม่พร้อมที่จะ public 5555
แพะก็ใช้สปริงติดทั่วตัวเลยเหมือนมาก
การมาที่งาน Bangkok mini maker fair นี่เจอคนที่รู้จักเยอะมากครับ แต่ก็เสียดายที่บางส่วนก็กลับไปก่อน แต่การมาที่งานนี้ก็ทำให้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของโลก ว่าตอนนี้เขาไปถึงไหนกันแล้ว ซึ่งช่วงนี้เจ้าของบล็อกก็ไม่ค่อยมีเวลามาเล่นหรือมาทำแนว maker เท่าไหร่เพราะเรื่องเรียนตอนนี้ยังไม่เข้าที่ แต่ก็ติดตามข่าวสารอยู่บ้าง แต่พอได้มางานก็ทำให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย สิ่งประดิษของคนไทย ที่สุดยอดไม่แพ้ใคร เป็นงานที่รวมกลุ่มเหล่า maker ทั่วประเทศที่สร้างสรรค์ผลงานมาเพื่อให้ประจักษ์ถึงศักษภาพ maker ของคนไทย และสุดท้ายนี้ ในคราวหน้าผมรับปากว่าจะไม่พลาดแบบนี้อีกครับ T_T
อันดับแรกที่หน้างานขอถ่ายรูปกับยักษ์ก่อนเลย บ่งบอกได้ถึงความเป็นไทยจริง ๆ :)
เมื่อเข้าไปในงาน ในส่วนแรกเราจะต้อง Register กันก่อน ซึ่งทางงานเขาก็จะให้แบบสอบถามถึงความสนใจของเรา แล้วก็คำถามทั่วไปอย่าง ชื่ออะไร เป็นอะไร ทำอะไร ประมาณนี้ครับ และก็จะได้ ฺBrochure มาอันนึง
รูปนี้คนเยอะเกินครับไม่กล้าเบียดเข้าไป ก็เลยถ่ายได้เท่านี้แหะ ๆ ^_^!
ตรงนี้ก็เป็นในส่วนของ model ที่เอามาโชว์กันนะครับ
ลำดับต่อมาเจ้าของบล็อกได้เข้าไปเยี่ยมชมในบูธของอาจารย์มิ้นท์ ^0^ หรือ ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ ก็คืออาจารย์ที่สอนอยู่ที่ FIBO ที่เจ้าของบล็อกกำลังศึกษาอยู่นั่นเองง ถ่ายมารูปเดียวต้องขออภัยด้วยนะครับ T_T
จากในรูปนะครับ ที่ได้ฟังจากอาจารย์และจากการสอบถามพี่ ๆ คือ project นี้ทำเพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ครับ ซึ่งจะเป็นการแก้สมาการ 2 ตัวแปร ถ้าเป็นเด็กบางคนก็อาจจะบอกว่ายาก แต่ถ้าหากให้เจ้า project นี้ช่วยก็จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการวางบล็อกรูปเลขาคณิตต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของ Application นั้นก็มี Pattern ในการวางบล็อกแต่ละชิ้นว่าควรต้องวางอย่างไร ซึ่งการวางบล็อกก็จะเป็นการแก้สมาการไปในตัว ในระหว่างเล่น เด็ก ๆ ก็จะสนุกไปด้วย และได้เกิดการเรียนรู้ไปในตัวด้วย เป็นโปรเจคที่เยี่ยมมากครับ O_O
ส่วนเจ้าตุ๊กตาหมาที่อยู่มุมล่างขวาของรูปนั้น ตามที่สอบถามพี่ ๆ บอกว่า เจ้าตัวหมานั้นจะติดกล้องไว้ที่ตาซึ่งในส่วนนี้ ก็ได้มีการเขียนโปรแกรมแบบ image processing ทำให้เจ้าหมานั้นสามารถ Detect ใบหน้าคนได้แล้ว ซึ่งเมื่อเจอกับคน ก็จะหันหน้าไปหาคน ๆ นั้น พี่เค้าบอกว่าจะพัฒนาไปอีกให้สามารถรับรู้อารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ ได้ด้วย ถือว่าเป็นความท้าทายขึ้นไปอีก
ในบูธถัดมาเจ้าของบล็อกก็มาหยุดอยู่ที่บูธของ Thairobotics กันนะครับ รูปนี้ถ่ายไม่ชัดอีกแล้ว T_T สำหรับบูธนี้เจ้าของบล็อกไม่ได้สอบถามรายละเอียดอะไรนะครับ แต่ก็ฟังจากที่พี่เค้าอธิบายให้กับท่านอื่นฟัง จะมีสอง project ก็คือ Wall Detect Glass กับ BB-8
ในส่วนของ Wall Detect Glass นั้น จากที่พี่เข้าอธิบายมา จะใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาครับ ซึ่งแว่นนี้ก็จะติดตัว Ultra sonic ไว้ที่แว่นตาด้วย ซึ่งตัว Ultra sonic นั้นจะสามารถตรวจสอบได้ว่า มีวัตถุอะไรบัง หรือมีสิงกีดขวาง หรือว่ามีกำแพงอยู่ข้างหน้ารึป่าว ซึ่งตัวเซนเซอร์นี้สามารถตรวจจับได้ในระยะ 40 cm เมื่อตรวจพบสิ่งกีดขวางมอเตอร์สั่นที่อยู่ในแว่นตาก็จะทำงาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นระยะที่พอเหมาะถ้าหากมีวัตถุหรือกำแพงอยู่ข้างหน้าก็จะสามารถหลบได้ทันท่วงที
ส่วนของหุ่นยนต์ BB-8 พี่ ๆ เค้าก็เฉลยเกี่ยวกับกลไกในการเคลื่อนที่ของมัน ทำให้ทราบว่าภายในหุ่นยนต์กลม ๆ นั้นข้างในจะกลวง ๆ เพื่อให้สามารถใส่หุ่นยนต์บังคับตามแบบในรูปให้เข้าไป โดยการเคลื่อนที่นั้นก็จะเคลื่อนที่ตามหุ่นยนต์รถบังคับตัวนั้น ซึ่งพี่เข้าก็ได้ใส่ตัวทุ่นน้ำหนักไว้ด้านล่างหุ่นยนต์เพื่อที่จะทำให้เกิด center of mass ทำให้ไม่เสียการทรงตัวในการเคลื่อนที่
ในส่วนของหัวของเจ้าตัว BB-8 ที่ทำให้หัวนั้นยึดติดกับหุ่นได้นั้นเนื่องมาจากแม่เหล็กที่คอยดูดเจ้าหัวนั้นและในขณะเคลื่อนที่ ตัวคันโยกของรีโมทบังคับจะมีตัวควบคุมในส่วนของหัวซึ่งเวลาเคลื่อนที่เราก็สามารถบังคับในส่วนหัว เพื่อไม่ให้หัวมันตกลงมาได้
นี่ก็จะเป็นคลิปตัวอย่างการเคลื่อนที่ ที่ทาง Thairobotics ได้ทำไว้ครับ :)
ในบูธต่อมา จากที่เจ้าของบล็อกได้สอบถามนะครับ จะเป็นโปรเจค IoT เกี่ยวกับการดูแลเจ้าเหมียวนะครับ ซึ่งไอ่เจ้าเตียงนอนที่มีตุ๊กตาอยู่นั้นเพื่อจำลองสถานการณ์ว่า ถ้าหากมีเจ้าเหมียวนอนอยู่ที่นั้นจริง ๆ จะทำการส่งข้อมูลไปที่ could server และสามารถตรวจดูพฤติกรรมของเจ้าเหมียวนี้ผ่านทาง internet ได้ถ้าหากว่าเจ้าเหมียวมันนอนอยู่ที่เตียงก็จะส่งข้อมูลไปที่ could server ครับ และเมื่อเวลาที่เราต้องการดูว่าเจ้าแมวเหมียวนั้นทำอะไร ในฝั่ง client ที่ connect ผ่าน web application นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าเจ้าแมวเหมียวของเรากำลังหลับอยู่
จากกระบอกน้ำสีเขียว ๆ นั้น เราสามารถสั่งผ่าน internet ได้ว่าหากต้องการเติมน้ำให้เจ้าแมวเหมียว ก็จะส่งข้อมูลมายัง server และก็ให้เจ้าตัว NodeMCU ตัวเหลือง ๆ นั้น get data จาก server เพื่อที่จะมาสั่ง relay ให้มอเตอร์ที่ต่อกับกลไกสูบน้ำ ทำให้สูบน้ำจากกระบอกฝาเขียว ๆ นั้นมาไว้ที่ถาดน้ำที่จัดเตรียมไว้ให้
ส่วนใน could server จากที่ถามรุ่นพี่เค้ามา คือพี่เค้าใช้จาก www.anto.io ซึ่งทางพี่เค้าก็ได้พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งในส่วนนี้พี่เค้าได้ทำ API ในการติดต่อไว้ให้ ซึ่งพี่เค้าก็ได้ทำ Library ออกมาเพื่อใช้สำหรับ Nodemcu โดยเฉพาะซึ่งการใช้งานจะง่ายมาก ๆ เพียงคำสั่งประมาณ 6-8 บรรทัดก็สามารถ setup wifi ส่ง data ไป server หรือ get data จาก server ได้ ซึ่งในส่วนของ Library นั้นพี่เค้ากำลังพัฒนา ซึ่งจะ public ให้ใช้ประมาณกลางเดือนหน้า และมีแผนว่าจะทำ Library ให้ Support กับทาง MCU อย่าง Arduino ด้วย ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้จาก Facebook fan page เลยนะครับ
พอเดินมาอีก ก็เสียดายมากที่บูธของ Home of Maker จาก Gravitech กำลังเก็บของ และที่อยู่ด้านหลังนั้นก็กำลังแข่งหุ่นยนต์ Hebocon กันครับซึ่งเจ้าของบล็อกก็ไม่ได้เข้าไปดูเพราะคนแน่นมาก จึงเดินไปยังบูธต่อไป
เดินต่อมาก็พลาดอีกครับ งานนี้เจ้าของบล็อกกะไว้ว่าจะมาเยี่ยมพี่ ๆ ที่เชียงใหม่หน่อย แต่พอมาเหลือเพียงแค่พี่นัทประธานชมรมเท่านั้น พี่ ๆ คนอื่น ๆ เตรียมตัวกลับเชียงใหม่กันหมดเลย T_T เศร้า
ในบูธถัดมาก็จะเป็นบูธของพี่อาร์ทครับ หรือ อาจารย์ อาคม ไทยเจริญ ซึ่งเป็นผู้ที่แนะนำเจ้าของบล็อกศึกษาต่อที่ FIBO ครับ ซึ่งก็ได้รู้จักกันตอนไปอบรม Arduino กับพี่อาร์ทเมื่อประมาณปีที่แล้ว ในส่วนของ project พี่อาร์ทบอกว่าในวันสุดท้ายนี้ได้เอามาโชวแค่บางส่วนครับ ต่างกับวันแรกที่พี่อาร์ทบอกว่ามีทั้งหุ่นยนต์ด้วย ซึ่งโปรเจคที่เห็นก็คือเป็นเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติครับ MCU ที่ใช้ควบคุมก็จะเป็นเจ้า Arduino ส่วนบอร์ดใกล้ ๆ กันนั้น น่าจะเป็น arduino กับ funbasic i/o shield นะครับ เป็นบอร์ดที่ไว้ใช้สำหรับพื้นฐานของ arduino เหมาะสมหรับผู้ต้องการศึกษาในขึ้น basic เพราะใน shield มีทั้งสั่งควบคุม input/output ได้ ถือว่าเป็นบอร์ดเรียนรู้ที่ดีเลยครับ
ต่อมาก็จะเป็นบูธของพี่ ๆ INEX กันครับ มาวันนี้เจอพี่เล็ก กับพี่แนทเฝ้าที่บูธ INEX กัน ส่วนพี่ ๆ ท่านอื่นน่าจะอยู่ในส่วน workshop กัน
สำหรับบูธนี้พี่ ๆ เค้าก็จะแสดงสินค้าใหม่ ๆ และสินค้าที่พัฒนาขึ้นเอง ในส่วนนี้ผมสนใจเป็นพิเศษก็คือ Circuit Scribe หรือ ปากกาลูกลื่นนำไฟฟ้า ซึ่งเราสามารถเอาปากกานั้นไปวาดลงบนกระดาษได้เลย ไม่จำเป็นต้องออกแบบ PCB กัดปริ้นท์ เราแค่ลากเส้นตามจินตาการของเรา จากที่สอบถามมาตัวหมึกปากกามีความต้านทานเพียงแค่ 2 - 10 ohm ถือว่าน้อยมาก เมื่อนำมาวาดเส้นยาว ๆ สามารถวาดยาวได้ 60 - 200 เมตรแล้วแต่ลักษณะการวาดกับกระดาษที่ใช้
และนี่ก็เป็นทั้งหมดที่เจ้าของบล็อกเดินไปงานวันนี้ รู้สึกว่าพลาดมากที่ไปช่วงที่เค้าเก็บของกันเสร็จหมดแล้ว บางส่วนเลยไม่ได้ถ่ายมา
ในระหว่างจะออกจากงานก็เจอกับผลงานสุด Creative อย่างหุ่นยนต์ transformer Bumblebee
ที่เจ้าของบล็อกต้อง sensor หน้าต้องขออภัย เพราะรูปที่ถ่ายกับ bumblebee มีแค่รูปเดียวแล้วหน้าก็ไม่พร้อมที่จะ public 5555
เป็นผลงานที่ creative มาก คนไทยนี่สร้างผลงานสร้างสรรค์ไม่แพ้ชาติใดในโลกเหมือนกันครับ
แพะก็ใช้สปริงติดทั่วตัวเลยเหมือนมาก
การมาที่งาน Bangkok mini maker fair นี่เจอคนที่รู้จักเยอะมากครับ แต่ก็เสียดายที่บางส่วนก็กลับไปก่อน แต่การมาที่งานนี้ก็ทำให้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของโลก ว่าตอนนี้เขาไปถึงไหนกันแล้ว ซึ่งช่วงนี้เจ้าของบล็อกก็ไม่ค่อยมีเวลามาเล่นหรือมาทำแนว maker เท่าไหร่เพราะเรื่องเรียนตอนนี้ยังไม่เข้าที่ แต่ก็ติดตามข่าวสารอยู่บ้าง แต่พอได้มางานก็ทำให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย สิ่งประดิษของคนไทย ที่สุดยอดไม่แพ้ใคร เป็นงานที่รวมกลุ่มเหล่า maker ทั่วประเทศที่สร้างสรรค์ผลงานมาเพื่อให้ประจักษ์ถึงศักษภาพ maker ของคนไทย และสุดท้ายนี้ ในคราวหน้าผมรับปากว่าจะไม่พลาดแบบนี้อีกครับ T_T
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น