มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 3 การควบคุมเปิดปิด LED ผ่าน Internet ด้วย NodeMcu



            วิธีที่เราจะควบคุม LED นั้นเราจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อนำไปเช็คเป็นเงื่อนไขว่า ถ้าเกิดเป็นค่านี้ให้ LED เปิด ถ้าเป็นอีกค่านึงให้ LED ปิด ดังนั้นหากเราต้องการสั่งให้ LED เปิดหรือปิดผ่าน Internet นั้น เราจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลบน cloud โดยเราจะทำการส่ง Http request ไปยัง server เพื่อร้องขอข้อมูลที่เราต้องการ ถ้าเราส่ง  http request ได้อย่างถูกต้องก็จะมี http response ตอบกลับจาก server โดยส่งมาพร้อมกับข้อมูลที่เราต้องการ และเราก็ทำการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ค่าที่ server ตอบกลับมานั้น มาเป็นค่าในการควบคุม LED เพื่อเปิดหรือปิดนั่นเอง ตอนนี้ผมได้อัพเดทบทความเพิ่มอีกในส่วนของการติดต่อข้อมูลเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นที่ มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 3 การควบคุมเปิดปิด LED ผ่าน Internet ด้วย NodeMcu (New Update !!)







         การ get data หรือจะเป็นการ update data เราสามารถศึกษา หรือดู Example ได้จาก Documentation จาก Support ของ ThingSpeak ได้เลย ในส่วนของการ get data นั้นเจ้าของบล็อกจะใช้วิธีการ get ตามแบบ Example ตัวนี้  ซึ่งเป็นการดึงค่าล่าสุดที่เราบันทึกข้อมูลลง database


           เอาละ เจ้าของบล็อกจะลอง get data มาดู ซึ่งจะพิมพ์ url นี้ https://api.thingspeak.com/channels/38965/fields/1/last ลงในช่อง search ของ browser


https://api.thingspeak.com/channels/38965/fields/1/last



           ที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น 38965 คือช่อง channels ของเรานะครับ ส่วน 1 คือ ต้องการดูที่ field ไหน ส่วนเจ้าของบล็อกขอเลือกดูที่ field 1 แล้วกันเพราะเจ้าของบล็อกบันทึกค่าไว้ที่ field นี้




          จากรูปข้างบนก็คือเจ้าของบล็อกลองเข้าไปยัง url ดังกล่าวผ่าน web browser และเชื่อมต่อไปยัง link นั้น แล้วจะมี response ตอบกลับมาเป็นเลข 2 นั่นก็คือค่าที่เราต้องการที่จะทราบว่า ค่าที่บันทึกล่าสุดของ field ที่ 1 คือค่าอะไร ก็มีการ response กลับมาเป็นค่าดังกล่าว


ตัวอย่างนี้เป็นเพียงการทดสอบดูว่าสามารถ get ค่าจาก server ได้หรือไม่ ต่อมาเราก็มาดูกันว่า เราจะเขียนให้ NodeMcu ของเรานั้นไป get ค่ามาแล้วมาควบคุม LED ได้อย่างไร


เริ่มกันเลยครับ..!!

การเขียนโปรแกรมถ้าหากมีวิธีที่ดี ง่ายกว่าช่วยแนะนำด้วยนะครับ เนื่องจากเจ้าของบล็อกอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาตัวเอง




เป็นการ get ค่าจาก Server โดยส่ง http request ขอดูในข้อมูลล่าสุดของ field 1 ถ้าส่ง request ถูกต้อง Server ก็จะส่ง http response กลับมาเป็นค่าที่เราต้องการ เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วเจ้าของบล็อกก็ทำการ substring ก็คือตัดเอาข้อความเอาเฉพาะที่จำเป็นมาใช้งาน ตามที่อธิบายไว้แต่ละบรรทัดที่สำคัญ

มาดูตัวอย่างคลิปที่เจ้าของบล็อกทำไว้ในแบบเดียวกัน





การใช้งาน NodeMcu เปิดปิดค่าผ่าน Internet ก็ประมาณนี้ครับ การประยุกต์ใช้ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่านแล้วว่ามีโปรเจคอะไรอยู่ในใจหรือเปล่า หวังว่าบทความที่เจ้าของบล็อกทำขึ้นนี้จะเป็นแนวทางสำหรับคนที่ต้องการแบบ Getting Start นะครับ แต่ถ้ามีผู้อ่านคนไหนที่ชำนาญและอยากจะติเจ้าของบล็อกหรือแนะนำอะไร ก็ขอความกรุณาด้วยครับ ต้องการพัฒนาตัวเองครับ :)


ติดตามตอนอื่น ๆ

มาเริ่มต้นกันกับ NodeMcu v.2 ตอนที่ 2 การใช้งาน NodeMcu กับ Thingspeak 

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ถ้าผมใช้ arduino uno +esp8266 และใช้ atcommand
ต้องแก้ code ยังไงครับ
ผมลองทำตามหน่ะครับ แต่ว่ามันไม่ได้ผล ไปดูที่ serial monitor มันถึงแค่ตรง SEND !! อ่ะครับ มันไม่มีผลตอบสนองจาก server กลับมาทำให้หลอด led ไม่ติด ผมควรแก้ยังไงดีครับ
Team กล่าวว่า
@ธนากฤต นันทาทอง ในส่วนของฟังชั่นที่เขียนไว้ลอง uncomment ออกดูครับ ที่ไว้เช็คตรง rawdata แล้วก็พวก id กับ data uncomment ออกเลยเพื่อจะได้ debug ได้ครับ
Unknown กล่าวว่า
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ธนากฤต นันทาทอง กล่าวว่า
ได้ละครับ ขอบคุณครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมมากเลยครับ
wasan show กล่าวว่า
โค้ตใช้งานไม่ได้ครับพี่
Team กล่าวว่า
โค้ดนี้เป็นโค้ดที่ค่อนข้าง fix นะครับ เพราะเป็นการ substring ข้อมูลที่ server response กลับมา เพราะบางที server ตอบกลับมาไม่เหมือนกัน ผมเลยต้องเขียน comment ไว้ในส่วนของ function เพราะฉะนั้นเช็คข้อมูลที่ตอบกลับมาดี ๆ แล้ว substring ออกมาให้ถูกต้อง ก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วครับ

สำหรับวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ก็มีครับ แนะนำใช้พวก MQTT Protocol ในการสื่อสารข้อมูลจะสะดวกกว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่องหน่วยความจำ สิ่งที่หลายคนมองข้าม : รู้จักกับ Memory

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 1 เกริ่นพีทาโกรัส

คณิตศาสตร์กับโปรแกรมมิ่งมันเป็นยังไงนะ ตอนที่ 3 โจทย์พีทาโกรัส (จบ)